top of page

รถไฟฟ้าจากพลังงาน “อุจจาระ” เปลี่ยนของเสียเป็นพลังงานที่ออสเตรเลีย



หากใครเคยได้ยินว่า “อุจจาระ” มีประโยชน์สามารถนำไปเป็นวัตถุดิบผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อการประกอบอาหารได้ หรือหากมีจำนวนมาก ๆ อาจนำไปสู่กระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า คุณจะต้องทึ่งกว่าเดิมเพราะตอนนี้เราสามารถใช้ “อุจจาระ”ในการเป็นวัตถุดิบผลิตเชื้อเพลิงจากก๊าซชีวภาพผลิตไฟฟ้าและสามารถขับเคลื่อนรถยนต์ได้แล้ว


Urban Utilities บริษัทผู้พัฒนานวัตกรรมยานยนตร์มีปณิธานสำคัญในการใช้เทคโนโลยีเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมในประเทศออสเตเลียได้ผลิตและเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานจาก “อุจจาระ” หรือ “อุจจาระ” หรือ “Poo-Powered” เป็นครั้งแรก ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานอึที่ว่านี้มีชื่อว่า นัมเบอร์ทู (Number 2) โดยใช้พื้นฐานตัวถังมาจากรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อฮุนได รุ่น Hyundai Kona Electric โดยที่แตกต่างจากรถยนต์ไฟฟ้าแบบเดิม ๆ เพราะรถไฟฟ้าคันนี้ไม่ใช่ “SUV” ทั่วไป แต่เป็น “S-poo-V” (เอสพูวี) ซึ่งคำว่า Poo ในภาษาอังกฤษหมายถึง “อุจจาระ” นั่นเอง


ซึ่งข้อมูลด้านเทคนิคจากการทดสอนระบุว่า เฉลี่ยแล้วอุจจาระที่ได้จากคน 1 คนในแต่ละวัน สามารถผลิตก๊าซชีวภาพและเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อนรถคันนี้ได้ไกลถึง 450 เมตร โดยอาศัยก๊าซชีวภาพ (Biogas) ที่ได้จากสิ่งปฏิกูลเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งกระบวนการที่ว่าไม่ใช่การนำ “อุจจาระ” มาเติมที่รถได้ทันทีแต่ต้องผ่านกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพที่โรงบำบัดของเสียอ็อกซ์ลีย์ก่อนจะเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าพลังงานสะอาดและนำไปชาร์จให้รถไฟฟ้า โดยโรงบำบัดของเสียแห่งนี้ตั้งอยู่ในเมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย


การชาร์จรถไฟฟ้านัมเบอร์ทูให้เต็มในแต่ละครั้งจะใช้ของเสียประมาณ 150,000 ลิตร ซึ่งต้องใช้อุจจาระของมนุษย์ประมาณ 1,000 คนสำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าต่อ 1 ครั้ง และสามารถขับขี่ได้เป็นระยะทางราว 450 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง


ทั้งนี้ “อุจจาระ” ทั้งหมดที่เข้าโรงบำบัด ได้มาจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองบริสเบน กว่า 330,000 คน โดยทุกครั้งที่กดชักโครกของเสียทั้งหมดจะไหลมารวมกันที่โรงบำบัดแห่งนี้ ซึ่ง Urban Utilities กล่าวว่าการนำของเสียมาเป็นวัตถุดิบผลิตพลังงาน ช่วยให้บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและช่วยสิ่งแวดล้อมได้ในแต่ละปีถึง 1.7 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือประมาณ 42 ล้านบาท และยังช่วยลดการปล่อยมลพิษให้เป็นศูนย์อีกด้วยซึ่งตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา โรงงานแห่งนี้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้ามากพอที่จะป้อนให้กับครัวเรือนเกือบ 4,000 หลังตลอดทั้งปีเลยทีเดียว


ซึ่งแน่นอนทุกกระบวนการผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด ย่อมมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การบำบัด และป้องกันมลพิษอย่างถูกวิธี ได้ก๊าซชีวภาพที่มีคุณภาพเหมาะสมกับการผลิตไฟฟ้า หรือ นำมาเป็นพลังงานขับเคลื่อนรถไฟฟ้า นั่นทำให้ไม่ส่งกลิ่นและผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งหมดนี้สอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการใช้พลังงานสะอาด


Comments


bottom of page